ภาษาญี่ปุ่นนั้นมีอักษรอยู่ 3 แบบด้วยกันนั่นก็คืออักษรฮิรากานะ อักษรคาตากานะและอักษรคันจิ ซึ่งสองแบบแรกจะจดจำค่อนข้างง่ายและสามารถออกเสียงได้ตามตัวอักษร แต่คนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นนั้นจะมีปัญหาต่อการจดจำตัวอักษรคันจิค่อนข้างมาก เพราะเขียนยากและมีหลายพันตัว อีกทั้งยังมีความหมายแตกต่างกันไป
คันจิ (ญี่ปุ่น: 漢字 โรมาจิ: Kanji) เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก
เสียงของคันจิ
เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบ อาจถึงสิบแบบหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ตัวอย่างเช่น
泉 จากคำว่า 温泉 (onsen) มีเสียงองคือ せん (sen) ส่วนเสียงคุนคือ いずみ (izumi) มีความหมายว่าน้ำพุ อย่างไรก็ตามมีหลายคำในภาษาญี่ปุ่นที่อ่านออกเสียงไม่ตรงกับคันจิที่เขียน ซึ่งเป็นการอ่านแบบพิเศษ โดยผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องจดจำข้อยกเว้นเหล่านี้เอง เนื่องจากการใช้คันจิสื่อความหมายมากกว่าเสียง ตัวอย่างเช่น 上手 อ่านว่า じょうず (jouzu) แปลว่า เก่ง, เชี่ยวชาญ โดยประกอบจากคันจิ 2 ตัวคือ 上 หมายความว่า “ข้างบน, เหนือ” และ 手 หมายความว่า “มือ” ทั้งที่ปกติแล้ว 手 จะไม่อ่านออกเสียงว่า ず (zu)
อีกทั้งยังเป็นที่โต้เถียงว่า จำนวนอักษรจีนหรืออักษรคันจิมีทั้งหมดกี่ตัว พจนานุกรมไดคันวะ จิเตน (大漢和辞典 Dai Kan-Wa jiten แปลว่า มหาพจนานุกรมจีนญี่ปุ่น) ได้รวบรวมอักษรคันจิไว้ประมาณ 50,000 ตัว ซึ่งถือว่าครอบคลุมมาก ส่วนในประเทศจีน มีพจนานุกรมภาษาจีนเล่มหนึ่งรวมรวมไว้ถึง 100,000 ตัว ซึ่งรวมถึงอักษรที่มีรูปแบบคลุมเครือด้วย แต่อักษรคันจิที่ใช้กันจริงในประเทศญี่ปุ่นมีอยู่เพียงประมาณ 2,000-3,000 ตัวเท่านั้น
วิธีการจำคันจิ
1.จำเป็นภาพ วิธีนี้จะเป็นการศึกษาที่มาของอักษรนั้นๆว่ามาจากภาพอะไร ซึ่งภาพที่ได้จะสอดคล้องกับความหมายทำให้เราสามารถจำความหมายและเสียงของศัพท์คำนั้นๆได้ด้วย ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้จินตนาการมาร่วมด้วยนะคะเหมือนกับการสร้างเรื่องราวเพื่อให้เรื่องราวเพื่อให้เราจำได้นั่นเองค่ะ
雨 – ame (อาเมะ) หมายถึง ฝน
เมื่อเจอคำว่าอาเมะ ให้นึกภาพฝนตกเพราะลักษณะตัวคันจิจะเหมือนเม็ดฝนที่กำลังตกลงมา
川 – kawa (คาวะ) หมายถึง แม่น้ำ
เส้นสามเส้นเรียงกันเหมือนสายน้ำกำลังไหล เส้นทางของแม่น้ำ
2. นำตัวคันจิที่ต้องการจำมาเขียนสร้างประโยค ทำซ้ำๆเราจะจำได้ว่าคำนี้จะใช้ในบริบทแบบไหนมีความหมายว่าอะไร เป็นวิธีเบสิคที่หลายคนนิยมทำ เมื่อเราเจอตัวนี้เราก็จะทราบบริบทของประโยคว่ากำลังพูดถึงสิ่งไหน เกี่ยวกับอะไร
3. ศึกษา Radical ของภาษาญี่ปุ่น หรือบุชุー部首 bushu คือรากของตัวคันจิ ผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นหลายคนบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะง่ายสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ภาษาญี่ปุ่นการจดจำรากศัพท์ที่สำคัญและใช้บ่อยจะเป็นประโยชน์มากหากพยายามเรียนรู้ความหมายของตัวอักษรคันจิหลายตัว Radicals คือตัวอักษรคันจิหรือองค์ประกอบที่พบในโครงสร้างของสัญลักษณ์ คันจิแต่ละตัวมีรากศัพท์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เป็นส่วนหัวของมัน รากศัพท์นี้อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับความหมายสุดท้ายของคำคันจิ อนุมูลไม่ได้ตั้งชื่อและไม่ใช่ทุกตัวที่มีความหมายในตัวเองปัจจุบันมีอนุมูลประมาณ 214 ตัว
การวางตำแหน่งของ “บุชุ” โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 10 แบบ
1. ทางซ้าย (เรียกว่า เฮน หรือ เบน)
เช่น ตัว イ อยู่ทางซ้ายของ 伊、位、依
2. ทางขวา (เรียกว่า ทสึคุริ หรือ ทซึคุริ)
เช่น ตัว リ อยู่ทางขวาของ 利、莉、 割
3. ข้างบน (เรียกว่า คัมมุริ)
เช่น ตัว 宀 อยู่บน 家、寡、字
4. ข้างใต้ (เรียกว่า อาชิ หรือ ชิตะ)
เช่น ตัว 貝 อยู่ใต้ 買、貿、資
5. แขวนอยู่ทางซ้าย (เรียกว่า ทาเระ หรือ ดาเระ)
เช่น ตัว 广 แขวนอยู่ทางซ้ายของ 店、庄、床
6. ครอบคว่ำ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่น ตัว 冂 ครอบอยู่บนตัว 円、同、
7. สอดอยู่ทางซ้าย (เรียกว่า เงียว)
เช่น ตัว 之 สอดอยู่ทางซ้ายของ 進、遠、
8. ครอบทางซ้าย (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 匚 ครอบทางซ้ายของ 区、医
9. ประกบสองข้าง (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 行 ประกบสองข้าง ของ 術、衛
10.ล้อมรอบ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 口 ล้อมรอบ 回、因
ตัวอย่าง
รากคันจิ 木 (ต้นไม้) สามารถกลายเป็น 林 (ป่า) และ 森 (ป่า)
รากคันจิ 木 ร่วมกับ 几 (ตาราง) รูปแบบคันจิ 机 (โต๊ะทำงาน / โต๊ะทำงาน)
ซึ่งข้อดีของการรู้รากศัพท์คันจิจะทำให้เราระบุความหมายและจำตัวคันจิได้
4. อ่านบทความที่เกี่ยวกับระดับตัวคันจิที่เราเรียนบ่อยๆ วิธีนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อเราใช้จริงเพราะเราจะทราบว่าคันจิที่เรากำลังศึกษาอยู่ใช้กับบริบทเนื้อความแบบไหน เมื่ออ่านเจอบ่อยเราก็จะจำได้มากยิ่งขึ้น