点字ブロック เท็นจิบล๊อกช่วยคนตาบอด

 

             พื้นผิวต่างสัมผัสบนทางเท้า ชื่อดังในชิบูย่าเมืองโตเกียวสู่พื้นที่ห่างไกลอย่างเกาะโอกินาวา ถนนของประเทศญี่ปุ่นมีหนึ่งสิ่งที่พบเจอได้เป็นปกตินั่นก็คือ ‘เท็นจิบล๊อก’ มันคือบล๊อกพื้นทางเดินที่มีสีเหลืองมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ทางเดินผิวสัมผัสนี้มักจะพบเห็นได้ตามสถานีรถไฟ ทางม้าลายและหน้าอาคารต่างๆ ส่วนมากจะเป็นสีเหลืองซึ่งจะง่ายต่อการมองเห็นต่อผู้พิการทางสายตา

 

เท็นจิบล๊อกจะมีอยู่ 2 ประเภท

  1. เท็นจิบล๊อกสี่เหลียมจตุรัสที่มีแถบยาวขนานกันซึ่งจะบอกผู้ใช้ทางเดินว่าพวกเขาสามารถเดินไปทางนี้ได้อย่างปลอดภัยและให้เดินไปตามถนนนี้ได้
  2. เท็นจิบล๊อกที่มีจุดกำกับเพื่อบอกว่าต้องเปลี่ยนทิศทางการเดินหรือให้หยุดเดินเพื่อบอกว่าถึงทางเข้าหรือจุดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจึงต้องระมัดระวัง เช่น ขอบชานชาลา บันได หรือสัญญาไฟจราจร

                “การเดินไปตามทางเท้าสัมผัสหรือเท็นจิบล๊อกนี้จะทำให้ผมแน่ใจว่าจะเดินไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย “ถนนไม่เคยตรงและมันก็มักจะคดโค้งหรือบิดเบี้ยว ขอบคุณเท็นจิบล๊อกที่ทำให้ผมรู้สึกปลอดภัยเพราะมันทำให้ผมรู้ได้ว่าผมกำลังเดินอยู่บนถนน”” โทโยฮารุ โยชิอิซุมิ, หนึ่งในสมาชิกของสหพันธ์ผู้พิการทางสายตาแห่งประเทศญี่ปุ่นกล่าวกับ AFP

            โยชิอิซูมิสูญเสียการมองเห็นตอนอายุ 12 ปี เขาเดินทางไปไหนมาไหนราว 40 นาทีในทุกๆวันโดยใช้เท็นจิบล๊อกในการเดินทาง ซึ่งเท็นจิบล๊อกนี้ยังถูกตั้งชื่อมาจากอักษรเบลล์ในภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

             ทางเท้าผิวสัมผัสนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่นมาเมื่อ 50 ปีที่แล้วเพื่ออำนวยควายสะดวกแก่ผู้คนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นให้เดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัยในเมือง และเจ้าเท็นจิบล๊อกนี้ยังถูกใช้ไปทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นภาพที่คุ้นเคยในเมืองต่างๆ ตั้งแต่ลอนดอนไปจนถึงซิดนีย์

 

 

                บล๊อกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือผลผลิตของนักประดิษฐ์ท้องถิ่นที่มีชื่อว่า เซอิจิ มิยาเกะ เขาอาศัยอยู่ที่โอกายาม่า หลังจากพบเห็นคนตาบอดที่ถือไม้เท้าเกือบถูกรถชนตรงทางแยก มิยาเกะเลยตัดสินใจทุ่มแรงกายใจในการประดิษฐ์บางสิ่งให้มีความปลอดภัยเพื่อคนที่บกพร่องทางสายตา

 

นวัติกรรม QR code

                ในปี 1976 ครั้งแรกที่เท็นจิบล๊อกถูกใช้สำหรับการข้ามถนนใกล้กับบริเวณโรงเรียนสอนคนตาบอดในจังหวัดโอกายาม่า พี่ชายของมิยาเกะช่วยเขาพัฒนาเท็นจิบล๊อก เขาบอกกับมิยาเกะว่า ‘เขาจะไม่มีวันลืมช่วงเวลาที่มีความหมายนั้นเลย’ ช่วงเวลาที่เท็นจิบล๊อกได้นำไปทดลองใช้กับคนเดินเท้าเป็นครั้งแรก ใช้เวลาอีกสามปีกว่าทางเดินเท็นจิบล๊อกจะถูกนำไปใช้ครั้งบนถนนในกรุงโตเกียว หลายปีผ่านไปมันก็ถูกนำใช้ไปทั่วโลกจนกลายเป็นที่รู้จักกันดีในตอนที่พวกมันถูกนำไปแสดงผลเป็นรูปเคลื่อนไหวในเว็บเซิร์จ เอ็นจินระดับโลกอย่าง Google ก็ได้แสดงโลโก้ Google ที่ออกแบบให้คล้ายกับบล็อกต่างสัมผัสของมิยาเกะ ในลักษณะนูนขึ้นมากับพื้นหลังสีเหลืองที่คุ้นเคยอีกด้วย

                แม้ว่าเท็นจิบล๊อกจะช่วยดูแลคนเดินถนนให้ปลอดภัยและเดินอยู่ในเส้นทาง แต่ก็ไม่ได้บอกข้อมูลอะไรมากไปกว่านั้นได้ ไม่สามารถบอกทิศทางว่ากำลังเดินไปทางไหน แต่มีแอพที่สร้างขึ้นในปีนี้กำลังจะทำได้ด้วยวิธีการแปะ QR code บนเท็นจิบล๊อกในหลายๆสถานีของกรุงโตเกียว คนที่ใช้ทางเดินก็จะสามารถสแกนแล้วให้ตัวแอพจะพูดข้อมูลว่าตรงนี้คือเส้นทางไหน ห่างจากจุดหมายปลายทางที่จะไปเท่าไหร่

 “มีข้อมูลมากมายปล่อยออกมาแต่คนที่มองไม่เห็นเขาไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เราต้องทำอะไรสักอย่างกับเรื่องนี้ด้วยเทคโนโลยี” ยูอิจิ โคนิชิ ประธานของ LiNKN ผู้ผลิตแอพลิเคชั่นช่วยคนพิการทางสายตากล่าว

            แอพลิเคชั่นนี้ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดจุดหมายได้ เช่น ระบุทางออก ทางไปห้องน้ำรวมไปถึงทางไปขึ้นรถไฟ จนถึงตอนนี้ QR code มีให้บริการในสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียว 9 แห่งและทางบริษัทกำลังจะขยายโครงการออกไปด้วย

เราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง

 

 

                แค่เพียงเท็นจิบล๊อกอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัย ปีที่แล้ว ผู้ชายที่บกพร่องทางการมองเห็นคนหนึ่งได้ตกลงไปในรางรถไฟที่สถานีโตเกียวแล้วถูกรถไฟชนแม้ว่าจะมีเท็นจิบล๊อกอยู่ตรงชานชาลา และชานชาลาก็มีประตูทีปิดเปิดเฉพาะเวลาที่รถไฟมาเท่านั้น มาตรการรักษาความปลอดภัยอื่นๆของโตเกียวยังมีเสียงเตือนตรงทางข้ามซึ่งจะบอกคนที่ใช้ถนนว่าตอนไหนข้ามได้หรือไม่ได้ เสียงตรงบันไดเลื่อนที่บอกว่าถึงจุดเริ่มและสุดสิ้นสุดของบันได

                โยชิอิซูมิบอกอีกว่าคนที่พิการทางสายตาต้องการโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกับคนอื่น แต่ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่นด้วย ความตระหนักในเรื่องนี้ทำให้ผู้คนเปิดกว้างต่อคนพิการมากยิ่งขึ้น

“ในตอนที่เดินผ่านเข้าไปในสถานี เจ้าหน้าที่ก็จะมาคุยกับผมและปัจจุบันผมได้รับความช่วยเหลือจากผู้โดยสารคนอื่นอยู่บ่อยๆด้วยครับ” และเขาก็ยังหวังว่าในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกนี้จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการปรับปรุงสิ่งต่างๆเพื่อคนพิการมากขึ้นด้วย “คนจะคิดว่า โอ้ คุณทำนั่นไม่ได้หรอก ทำนี่ก็ไม่ได้เพราะความพิการ ผมหวังว่าการได้ดูการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกจะเปลี่ยนมุมมองของพวกเขาได้บ้าง ทำให้เขาเข้าใจว่าเรานั้นก็ทำได้หลายอย่าง ผมคิดว่ามันจะทำให้โลกเรามีพื้นที่ดีๆมากขึ้นให้คนพิการครับ” โยชิอิซูมิกล่าว

   ปัจจุบันประเทศไทยก็มีทางเท้าเท็นจิบล๊อกเช่นเดียวกัน ซึ่งจะพบเห็นได้บ่อยในสถานีรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน ทางเดินสกายวอร์คหรือริมฟุตบาทบริเวณป้ายรถเมล์ที่มีคนพลุกพล่าน

 

Cr. Bangkokpost

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *